• Home
  • Blog
  • Uncategorized
  • แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564-2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่

แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564-2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่

       ปี 2564-2566 ยอดขายของร้านค้าปลีกสมัยใหม่มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 1.5-2.5% ตามเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว และปัจจัยสนับสนุน อาทิ มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐ การขยายตัวของโครงการลงทุนภาครัฐ และปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่นๆ เช่น การขยายตัวของชุมชนเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม การแข่งขันของธุรกิจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งรายใหม่ทั้งในและต่างประเทศที่เห็นช่องทางการเติบโตของภาคค้าปลีกไทย รวมถึงคู่แข่งจากร้านค้าออนไลน์ (E-commerce) ซึ่งมีทิศทางเติบโตอย่างก้าวกระโดด ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับกลยุทธ์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเพื่อขยายฐานรายได้และกลุ่มลูกค้าในระยะยาว

แนวโน้มอุตสาหกรรม

       ปี 2564-2566 ยอดขายของร้านค้าปลีกสมัยใหม่มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 1.5-2.5% ตามเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว และปัจจัยสนับสนุน อาทิ มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐ การขยายตัวของโครงการลงทุนภาครัฐ และปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่นๆ เช่น การขยายตัวของชุมชนเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม การแข่งขันของธุรกิจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งรายใหม่ทั้งในและต่างประเทศที่เห็นช่องทางการเติบโตของภาคค้าปลีกไทย รวมถึงคู่แข่งจากร้านค้าออนไลน์ (E-commerce) ซึ่งมีทิศทางเติบโตอย่างก้าวกระโดด ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับกลยุทธ์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเพื่อขยายฐานรายได้และกลุ่มลูกค้าในระยะยาว

1 io modern trade 2021 f9

      สำหรับปัจจัยกดดันธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ได้แก่ (1) อำนาจซื้อของผู้บริโภคระดับฐานรากซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศอาจฟื้นตัวช้า จากราคาสินค้าเกษตรที่ผันผวนและปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง (2) การแข่งขันของธุรกิจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้งจากผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันและผู้ประกอบการที่มาจากธุรกิจอื่น รวมถึงคู่แข่งรายใหม่จากในและต่างประเทศที่เห็นช่องทางการเติบโตของภาคค้าปลีกไทย นอกจากนี้ ยังมีคู่แข่งจากร้านค้าออนไลน์ (E-commerce) ซึ่งมีทิศทางเติบโตรวดเร็ว สามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ดี (Box 1) และมีการสั่งซื้อในหมวดสินค้าจำเป็นเพิ่มขึ้น เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงมีผู้ประกอบการจำนวนมาก ทั้งที่อยู่นอกธุรกิจค้าปลีก (Non-Retail) และต่างชาติที่มีความพร้อมด้านเงินทุนโดยเฉพาะจีน ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทยคาดปี 2566 ยอดขายออนไลน์ของไทยจะมีสัดส่วนมากกว่า 10% ของยอดค้าปลีกรวม เพิ่มขึ้นจาก 2.0-3.0% ปี 2561 ขณะที่ e-Conomy SEA 2020 ประเมินมูลค่าตลาด E-commerce ของไทยปี 2563 อยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 81% จากปี 2562 และจะแตะ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 (ภาพที่ 10)

2 io modern trade 2021 f10

      สำหรับปัจจัยกดดันธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ได้แก่ (1) อำนาจซื้อของผู้บริโภคระดับฐานรากซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศอาจฟื้นตัวช้า จากราคาสินค้าเกษตรที่ผันผวนและปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง (2) การแข่งขันของธุรกิจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้งจากผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันและผู้ประกอบการที่มาจากธุรกิจอื่น รวมถึงคู่แข่งรายใหม่จากในและต่างประเทศที่เห็นช่องทางการเติบโตของภาคค้าปลีกไทย นอกจากนี้ ยังมีคู่แข่งจากร้านค้าออนไลน์ (E-commerce) ซึ่งมีทิศทางเติบโตรวดเร็ว สามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ดี (Box 1) และมีการสั่งซื้อในหมวดสินค้าจำเป็นเพิ่มขึ้น เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงมีผู้ประกอบการจำนวนมาก ทั้งที่อยู่นอกธุรกิจค้าปลีก (Non-Retail) และต่างชาติที่มีความพร้อมด้านเงินทุนโดยเฉพาะจีน ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทยคาดปี 2566 ยอดขายออนไลน์ของไทยจะมีสัดส่วนมากกว่า 10% ของยอดค้าปลีกรวม เพิ่มขึ้นจาก 2.0-3.0% ปี 2561 ขณะที่ e-Conomy SEA 2020 ประเมินมูลค่าตลาด E-commerce ของไทยปี 2563 อยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 81% จากปี 2562 และจะแตะ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 (ภาพที่ 10)

2 io modern trade 2021 f10

       ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกสมัยใหม่มีแนวโน้มเร่งปรับตัวเพื่อขยายฐานรายได้และกลุ่มลูกค้าในระยะยาว โดยเฉพาะการพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ  เพื่อแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดออนไลน์ เช่น Alibaba และ JD.com โดยผู้ประกอบการจะเน้นการขายหน้าร้าน (Off-line) ควบคู่การขายออนไลน์ (On-line) การรับชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (E-Payment) อาทิ E-Wallet และ QR Code การเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการกลุ่มอื่น เช่น บริษัทเรียกรถผ่านมือถือ รวมถึงการขยายการลงทุนร้านค้าต่อเนื่อง โดยรูปแบบร้านค้าจะมีขนาดเล็กลงและแตกต่างกันตามพื้นที่ เพื่อให้จำนวนสาขาครอบคลุมและเข้าถึงผู้บริโภคได้สะดวก

  • การลงทุนในประเทศ: ผู้ประกอบการมีแนวโน้มขยายสาขาต่อเนื่องในพื้นที่กรุงเทพฯ จังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดรอง รวมถึงพื้นที่ที่ระบบคมนาคมขนส่งกระจายไปถึง พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ EEC และแนวชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ครอบคลุมพื้นที่ลงลึกระดับอำเภอ โดยเน้นรูปแบบของร้านค้าปลีกที่มีขนาดเล็กลงและมีรูปแบบ Life style มากขึ้น ทั้งนี้ ร้านสะดวกซื้อ อาทิ 7-Eleven มีแผนขยายการลงทุนปีละ 700 สาขาและตั้งเป้าที่ 13,000 สาขาภายใน 2564 ด้าน Big C ตั้งเป้าเปิดสาขาเพิ่มอีก 200-300 สาขาในปี 2564 เน้นพื้นที่ต่างจังหวัด
  • การลงทุนต่างประเทศ: ผู้ประกอบการรายใหญ่มีแนวโน้มการขยายการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูงทั้งด้านเศรษฐกิจ จำนวนประชากรและชนชั้นกลาง โดยผู้ประกอบการที่เข้าไปขยายสาขาแล้ว อาทิ กลุ่ม TCC ลงทุนในธุรกิจร้านค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ ห้าง MM Mega Market และร้านสะดวกซื้อ B’s Mart ในเวียดนามและ M-point mart (เปลี่ยนชื่อเป็น Mini Big C) ในสปป.ลาว และมีแผนเปิดร้าน Big C (ซูเปอร์เซ็นเตอร์) ในสปป.ลาวและกัมพูชา รวมถึงมาเลเซียในอนาคต กลุ่ม Central เปิดร้าน Supersports Power Buy ห้างสรรพสินค้า Big C (เปลี่ยนชื่อเป็น GO! และปรับเป็นช็อปปิ้งมอลล์) และห้าง Robins ในเวียดนาม ห้าง Central ในอินโดนีเซีย และ Central i-City ในมาเลเซีย HomePro ขยาย 6 สาขาในมาเลเซีย Index Living Mall ขยายสาขาในมาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ Makro ลงทุนในกัมพูชา และ 7-Eleven เตรียมเปิดในกัมพูชา

 

Box 1

 

       สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Development Agency: ETDA) ประเมินมูลค่า ธุรกิจการค้าออนไลน์ของไทย (E-commerce) ปี 2563  เติบโตอย่างก้าวกระโดดแตะ 4.9 ล้านล้านบาท จาก 4.0 ล้านล้านบาทปี 2562 โดยจำแนกตามประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

  • ผู้ประกอบการ: กลุ่ม B2B (Business to Business) มีมูลค่าสูงสุดที่ 2.4 ล้านล้านบาท  กลุ่ม B2C (Business to Customer) 1.9 ล้านล้านบาท และกลุ่ม B2G (Business to Government) 6.9 แสนล้านบาท  (ภาพที่ 11)
3 io modern trade 2021 f11
  • ประเภทธุรกิจ: มูลค่าสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง  1.9 ล้านล้านบาท  การให้บริการที่พัก 1.1 ล้านล้านบาท และอุตสาหกรรมการผลิต 5.3 แสนล้านบาท (ภาพที่ 12)
4 io modern trade 2021 f13
  • ประเภทสินค้าและบริการ: ธุรกิจห้างสรรพสินค้ามีมูลค่าสูงสุดที่ 1.4  ล้านล้านบาท เครื่องสำอาง/อาหารเสริม/น้ำหอมและอุปกรณ์เสริมความงาม 1.7 แสนล้านบาท และอุปกรณ์กีฬา 1.1 แสนล้านบาท (ภาพที่ 13)
5 io modern trade 2021 f14

       ความท้าทายของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในระยะต่อไป ได้แก่ (1) การปฏิบัติตามเกณฑ์ทางการที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจค้าส่งค้าปลีกกับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย (2) รูปแบบธุรกิจเปลี่ยนจากการทำตลาดแบบ Mass marketing เป็นแบบเฉพาะเจาะจง (Customization) มากขึ้น (3) การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ Big data มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าและธุรกิจ และ (4) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าและโลจิสติกส์เพื่อกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยวิกฤต COVID-19 จะทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกปรับสู่การซื้อขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น ซึ่งรวมถึงสินค้ากลุ่มอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค จึงคาดว่าช่องทางออนไลน์จะถูกพัฒนาต่อเนื่องในระยะยาว ผู้ประกอบการค้าปลีกจึงต้องเร่งทบทวนและปรับกลยุทธ์สู่ตลาดออนไลน์มากขึ้นและเร็วขึ้น โดยเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับสินค้าและสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ ขณะที่คุณภาพการให้บริการทั้งด้านความสะดวก ความปลอดภัย และความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าไปถึงมือผู้ซื้อถือเป็นปัจจัยหลักในการแข่งขันของธุรกิจ และอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการดำเนินธุรกิจค้าปลีกในอนาคต

6 io modern trade 2021 t9

มุมมองวิจัยกรุงศรี

      ปี 2564-2566 ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยที่ 1.5-2.5% ต่อปี จากกำลังซื้อที่ทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง โดยแนวโน้มธุรกิจและโอกาสในการทำกำไรของผู้ประกอบการแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน ดังนี้

7 io modern trade 2021 t10

   

  • ห้างสรรพสินค้า: คาดว่ายอดขายจะกระเตื้องขึ้นเทียบกับที่หดตัวแรงในปี 2563 ผู้ประกอบการมีแผนลงทุนเปิด/ขยาย/ปรับปรุงห้างเพื่อรองรับ (1) กำลังซื้อที่จะฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ (2) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง และ (3) การเติบโตของเมืองรอง/เมืองชายแดนที่เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสร้างรายได้โดยขยายการลงทุนสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพทางการตลาด อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเผชิญความท้าทายจากบทบาทที่เพิ่มขึ้นของช้อปปิ้งออนไลน์ที่อาจกดดันยอดขายของธุรกิจ ทำให้ห้างสรรพสินค้าต้องปรับกลยุทธ์การตลาด ซึ่งรวมถึงการลงทุนด้าน E-commerce เพื่อรักษาฐานลูกค้า ด้านผู้ประกอบการท้องถิ่นจะแข่งขันลำบากขึ้น

 

  • ดิสเคาท์สโตร์ /ไฮเปอร์มาร์เก็ต/ซูเปอร์เซ็นเตอร์: คาดว่ายอดขายจะเติบโต 1.3-2.3% ต่อปี จากที่หดตัวในปี 2563 เนื่องจากมีกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญคือ การตั้งราคาจำหน่ายสินค้าต่ำกว่าร้านประเภทอื่น อีกทั้งมีความได้เปรียบจากขนาด รวมถึงครอบคลุมฐานลูกค้าค่อนข้างกว้าง และมีการขยายธุรกิจกระจายไปทั่วประเทศ จึงมีโอกาสทำกำไรต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การแข่งขันด้านราคาใน segment เดียวกันมีความรุนแรง และต้องแข่งขันกับร้านค้าปลีก segment อื่นที่ขายสินค้าใกล้เคียงกัน จึงอาจกดดันกำไรของธุรกิจอยู่บ้าง

 

  • ซูเปอร์มาร์เก็ต: ยอดขายมีแนวโน้มเติบโตดีกว่า segment อื่นที่เฉลี่ย 2.8-4.7% ต่อปี จากที่หดตัว 10.0-12.0% ปี 2563 ผลจากกำลังซื้อในตลาดกลางถึงบนค่อนข้างแข็งแกร่ง  และมีสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความหลากหลายให้เลือก รวมถึงสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ด้านผู้ประกอบการมีการพัฒนารูปแบบร้านค้าต่อเนื่องและมีจุดแข็งด้านคุณภาพของสินค้า รวมทั้งความได้เปรียบจากขนาดและมีสาขารองรับในชุมชนใหญ่ๆ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี ส่งผลให้ธุรกิจสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่อง

 

  • ร้านสะดวกซื้อ / มินิมาร์ท: คาดยอดขายจะเติบโต 1.7-2.8% ต่อปี จากที่หดตัว 9.0-10.0% ปี 2563 ผลจากการขยายสาขาใหม่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางถึงในชุมชนย่อย ที่พักอาศัยแนวรถไฟฟ้าและทำเลที่มีประชากรหนาแน่น รวมถึงการเพิ่มสินค้าประเภทอาหารพร้อมทานและบริการใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงช่องทางออนไลน์ เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายในร้านค้าใกล้บ้าน อย่างไรก็ตาม การแข่งขันมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้งจากการเปิดสาขาของคู่แข่งในพื้นที่เดียวกันและคู่แข่งทางอ้อม อาทิ ซูเปอร์มาร์เก็ตและดิสเคาท์สโตร์ที่ชิงฐานลูกค้าในรูปแบบของร้านขนาดเล็ก ส่งผลให้พื้นที่การทำตลาดของแต่ละสาขาแคบลง ทำให้รายได้ต่อสาขาอาจไม่สูงเช่นในอดีต โดยร้านสะดวกซื้อที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ยังสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่อง ขณะที่ร้านสะดวกซื้อทั่วไปจะมีความเสี่ยงในการดำเนินกิจการมากกว่า

ข้อมูลและรูปภาพประกอบจาก : https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Wholesale-Retail/Modern-Trade/IO/io-modern-trade-21

รูปภาพปก : https://www.freepik.com