5 กลไก ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยไป Industry 4.0

       กระทรวงอว. และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เตรียมสร้างโครงการความร่วมมือต่าง ๆ โดยต่อยอดเชื่อมโยงงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการบ่มเพาะและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและเติบโตอย่างเข้มแข็ง นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสอดรับกับอุตสาหกรรม 4.0 ดังนี้ 

 

       กระทรวงอว. และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เตรียมสร้างโครงการความร่วมมือต่าง ๆ โดยต่อยอดเชื่อมโยงงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการบ่มเพาะและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและเติบโตอย่างเข้มแข็ง นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสอดรับกับอุตสาหกรรม 4.0 ดังนี้  

  1. การขับเคลื่อนในภาคเอกชน การให้ทุนวิจัยโดยตรงแก่เอกชน เช่น ทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) เพื่อให้เอกชนสามารถนำงานวิจัยไปต่อยอดเชิงนวัตกรรมพาณิชย์ และสามารถประกอบธุรกิจนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง 
  1. เครือข่ายอุดมศึกษาเพื่ออุตสาหกรรม (Hi-Fl Consortium) โครงการวิทยาศาสตร์เพื่ออุตสาหกรรม (Science for Industry, Sci-FI) โดยการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ระดับปริญญาโท ร่วมกับกลไกการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมยกระดับการพัฒนานวัตกรรมในสถานประกอบการ ซึ่งเป็นโครงการที่นักศึกษาป.โทสามารถเรียนและทำวิจัยเพื่อนำไปต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมได้
  1. โครงการบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated Learning หรือ WiL) คือ การนำโรงเรียนไปไว้ในโรงงาน เพื่อผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เมื่อจบแล้วสามารถทำงานได้ทันที มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคนให้ตรงกับงาน นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงและค่าตอบแทนจริงจากการทำงาน 
  1. โครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยจากภาครัฐ (Talent Mobility) โดยส่งเสริมให้ปฎิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับเอกชน 
  1. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูงและการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง (Thailand Plus Package) ซึ่งกระตุ้นและเร่งรัดการลงทุน ทั้งมาตรการภาษี การพัฒนาบุคลากร ปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุน เร่งรัดให้ได้ข้อสรุปเรื่องการเจรจาเอฟทีเอ พร้อมทำตลาดเชิงรุก โดยแบ่งออกเป็น
  • มาตรการที่ 1 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 250% สำหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ที่ผ่านการรับรองโดย อว.
  • มาตรการที่ 2 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 150% สำหรับการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ให้แก่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

 

       และในอนาคตอันใกล้แพลตฟอร์มดังกล่าวจะมีทั้งบริการประสานงาน เชื่อมโยง ฝั่ง Demand และฝั่ง Supply วิเคราะห์ความต้องการกำลังคน และบริหารจัดการข้อมูล ที่ให้ภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย อาทิ การจับคู่กำลังคนที่มีทักษะตรงตามตำแหน่งงาน Job Positioning, Reskill/Upskill ให้แก่บุคลากรขององค์กร, Co-Creation เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและภาคการอุดมศึกษา ไปจนถึงการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฝึกปฏิบัติงานหรือ Industrial Training Center (ITC) เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.bangkokbiznews.com/tech/1013280