

ตรวจวัดระดับน้ำเหนือผิวดิน
ป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุ


โครงการป้องกัน
ในพื้นที่ป่าพรุ
ไฟป่า
โดยความร่วมมือขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ และหน่วยงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย เพื่อป้องกันพื้นที่ป่าพรุทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่า และสำคัญต่อระบบนิเวศ

“ ไฟป่า..ในป่าพรุ
มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากไฟป่าในประเทศไทยทั่วไป คือไฟป่ากึ่งผิวดินกึ่งใต้ดิน ซึ่งจะมีการไหม้ทั้งในแนวราบไปตามพื้นผิวป่าเหมือนไฟผิวดินของป่าทั่วไป และในขณะเดียวกันจะมีการไหม้แนวดิ่งลงไปในชั้นดินพรุ
ดิน
ในพื้นที่ป่าพรุมีการทับถมของอินทรีย์วัตถุอยู่มาก
ซึ่งเมื่อแห้งจะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีเนื่องจากในดินมีก๊าซมีเทน
ซึ่งเกิดจากการบูดเน่าของซากอินทรีย์วัตถุเป็นตัวช่วยในการติดไฟ
ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่รุนแรง
การดับไฟป่าพรุ...
มีความลำบากมากกว่าการดับไฟในป่าบก เพราะไฟที่ไหม้ใต้ดิน มองไม่เห็นเปลวไฟ มีเพียงกลุ่มควันที่หนาแน่น ในจุดที่ดับแล้วก็สามารถคุขึ้นใหม่ได้ง่าย การดับไฟในป่าพรุต้องใช้เวลานานนับเดือน นอกจากจะต้องใช้งบประมาณที่สูงในการดับไฟแล้ว เรายังต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่า และในการฟื้นฟูต้องอาศัยเวลาที่ยาวนาน

หากเกิดไฟไหม้ป่าพรุขึ้นแล้ว
ย่อมหมายถึงความสูญเสีย
ที่ยากต่อการประเมินค่า และยากต่อการฟื้นฟูให้กลับมาในสภาพเดิมได้
ป่าพรุ (peat swamp forest) เป็นผืนป่าที่มีความแตกต่างจากป่าทั่วไป มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ด้วยลักษณะเฉพาะของพื้นที่ป่าที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะรองรับน้ำฝน ทำให้มีน้ำจืดแช่ขังอยู่ตลอดทั้งปี มีอินทรีย์วัตถุในดินสูง เนื่องจากเกิดการสะสมของซากอินทรีย์สารต่าง ๆ โดยเฉพาะซากใบไม้ที่ทับถมกันเป็นเวลานาน
พืชและสัตว์ในป่าพรุ
มีการปรับตัวให้มีโครงสร้างแบบพิเศษเพื่อช่วยให้อยู่รอด เนื่องจากต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำแช่ขังและมีความเป็นกรดสูง ในป่าพรุพบสัตว์หลากหลายชนิดตั้งแต่สัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และปลา สัตว์เหล่านี้ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยป่าพรุทั้งสิ้น ป่าพรุจึงมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก

แนวทาง
ในการจัดการไฟป่าในป่าพรุ

ควบคุมระดับน้ำในป่าพรุ
หากพรุแห้งจะทำให้เกิดไฟไหม้ป่า
ดังนั้นแนวทางป้องกันจึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไรให้มีน้ำขังไว้ตลอดฤดูแล้ง และติดตามให้มีระดับน้ำอยู่สูงเพียงพอ
ต่อการป้องกันไฟ
“ ไฟจะไม่สามารถไหม้ดินพรุได้
หากระดับน้ำใต้ดินพรุยังมีอยู่
วิธีการป้องกันไฟป่าพรุที่สำคัญ
ก็คือการรักษาระดับน้ำใต้ดินใน
พื้นที่ป่าพรุ”

องค์กร
ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ระบบตรวจสอบ ระดับน้ำ ด้วย LoRa Sensor
จึงถูกนำเข้ามาติดตั้งเพื่อติดตามสถานะการณ์น้ำ เนื่องจากการติดตั้งที่ง่าย Sensor ใช้พลังงานต่ำ มีแบตเตอรี่ในตัว และการสื่อสารไร้สายผ่านคลื่นความถี่ LoRa ที่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ในระยะไกล ทำให้ประหยัดทั้งค่าติดตั้ง และการดูแลรักษา เนื่องจากการเดินทางในพื้นที่ป่าพรุมีความยากลำบาก


สาเหตุสำคัญ
ของการเกิดไฟไหม้ป่าพรุ
ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่อง
จากการที่ดินพรุแห้ง
มี 4 สาเหตุหลักคือ
การหาปลา
ซึ่งมีการจุดไฟเผาเพื่อเปิดให้พบแหล่งที่อยู่ของปลาได้ง่าย
การหาของป่า
การเดินทางในป่าพรุมีความยากลำบาก ทำให้ต้องมีการค้างแรม ซึ่งต้องมีการจุดไฟเพื่อประกอบอาหาร รวมถึงขับไล่สัตว์และแมลงต่างๆ
ความต้องการ
ขยายพื้นที่ทำกิน
และการจุดไฟในพื้นที่ทำกินและเกิดการลุกลาม

โดยปกติในช่วงฤดูร้อน
ปริมาณน้ำฝนจะน้อยลง
ในขณะที่อัตราการระเหยของน้ำสูงขึ้น
ทำให้บริเวณขอบพรุแห้งกอปรกับมีการลักลอบเปิดประตูระบายน้ำเพื่อดักปลา และหาปลาในลำน้ำสาขาต่างๆ ทำให้ปริมาณน้ำที่กักเก็บในพรุ ลดต่ำกว่าระดับกักเก็บปกติ โดยเฉพาะในบางปีที่เกิดภาวะแห้งแล้ง ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าผิวดินพรุมากที่สุดถึง 75 เซนติเมตร การที่พรุแห้งหมายถึงชั้นดินอินทรีย์ซึ่งประกอบไปด้วยเศษซากกิ่งไม้ ใบไม้ พี่ทับถมอยู่นั้นแห้งกรอบ ไม่ชุมน้ำ ยิ่งระดับน้ำในป่าพรุต่ำกว่าผิวดินอินทรีย์มากเท่าไหร่นั้นหมายถึงเชื้อเพลิงปริมาณมหาศาลที่รอการเผาไหม้

SENSOR
เพื่อการตรวจสอบ การกักเก็บน้ำ ไว้ให้เพียงพอ
เพื่อหล่อเลี้ยงป่าพรุตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันไฟป่า


Sensor วัดระดับน้ำ
EM500-SWL Submersible Water Level Sensor
ตรวจวัดระดับน้ำเหนือผิวดินพรุ ติดตั้งกระจายทั่วพื้นที่ป่า



Sensor วัดระดับน้ำ
EM500-UDL Ultrasonic Distance/Level Sensor
ตรวจวัดระดับน้ำในบริเวณประตูระบายน้ำทุกประตูตลอดช่วงฤดูแล้งเพื่อติดตามสถานการณ์ของปริมาณน้ำในป่าพรุว่ามีมากน้อยเพียงใด

Weather Station
WTS506-915M
สถานีตรวจอากาศติดตั้งกระจายอยู่รอบป่าพรุเพื่อนำมาคาดการณ์และเตรียมความพร้อมในกรณีฝนขาดช่วงเป็นเวลานาน



ES104
Outdoor Environment Air Quality
ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น รวมถึงค่า PM2.5 และ PM10 ในอากาศ


Teltonika
RUT200 4G Router
เชื่อมต่อ LoRaWAN Gateway เข้ากับ Cloud IoT Platform
เพื่อแสดงค่าข้อมูลวัดแบบ Real-Time แก่เจ้าหน้าที


ข้อมูลจาก Sensor มีความสำคัญในการบริหารจัดการระดับน้ำในพื้นที่ป่าพรุ
- การติดตามสถานการณ์การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเพื่อเตรียมการกักเก็บน้ำไว้ในป่าพรุให้สูงมากกว่าปกติ ก่อนหมดฤดูฝน หากปริมาณน้ำฝนน้อยอาจมีความจำเป็นต้องใช้การทำฝนเทียมในภูเขาต้นน้ำภายในลุ่มน้ำของป่าพรุ
- ในปีที่ไม่เกิดภาวะแห้งแล้ง ปกติในฤดูแล้งก็ยังมีฝนอยู่ประปราย ดังนั้นเมื่อปิดประตูระบายน้ำทุกประตูบางครั้งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมที่ทำกินของราษฎรภายในผนังกั้นน้ำการสำรวจพื้นที่ทำกินของราษฎรบริเวณใดที่มีน้ำท่วมขัง และทำการเปิดประตูระบายน้ำให้เป็นกรณีไปเมื่อระดับน้ำลดลงแล้วก็ปิดประตูน้ำตามเดิม
- ในช่วงฤดูแล้งมีราษฎรลักลอบเปิดประตูระบายน้ำออกจากปากพรุ เพื่อให้สะดวกแก่การใช้ไฟในการขยายพื้นที่และการปล่อยสัตว์เลี้ยงให้หากิน การหาปลาโดยการปล่อยน้ำให้ไหลผ่านโพงพาง เป็นเหตุให้ป่าพรุแห้งและเกิดไฟป่าตามมา การตรวจสอบระดับน้ำบริเวณประตูระบายน้ำต่างๆเพื่อป้องกันการลักลอบเปิดประตูระบายน้ำ จึงเป็นแนวทางในการจัดการควบคุมระดับน้ำในป่าพรุ