MQTT คือ

โปรโตคอลในการส่งข้อมูลที่พัฒนามา

เพื่อใช้ในระบบ IOT

MQTT คือโปรโตคอลในการส่งข้อมูลที่พัฒนามาเพื่อใช้ในระบบ IOT ย่อมาจาก (Message Queue Telemetry Transport) โดยมีการทำงานแบบ Broker and Clients Network ซึ่งถูกออกแบบให้สามารถส่งข้อมูลแบบ Real-Time ในปริมาณข้อมูลที่น้อย ทำให้ใช้พลังงานต่ำมันถูกพัฒนามาจาก TCP/IP ที่มีการส่งข้อมูลแบบ One-To-One ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรณ์มากซึ่งไม่เหมาะกับระบบ IOT โดยเฉพาะ

MQTT

Message Queue Telemetry Transport

MQTT (Message Queue Telemetry Transport) คือโปรโตคอลในการส่งข้อมูลที่พัฒนามาเพื่อใช้ในระบบ IOT มันทำงานแบบ Broker and Clients Network มันถูกออกแบบให้สามารถส่งข้อมูลแบบ Real-Time ในปริมาณข้อมูลที่น้อย ทำให้ใช้พลังงานต่ำมันถูกพัฒนามาจาก TCP/IP ที่มีการส่งข้อมูลแบบ One-To-One ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรณ์มากซึ่งไม่เหมาะกับระบบ IOT เนื่องจากในระบบ IOT มีการส่งข้อมูลตลอดเวลา และ 1 อุปกรณ์อาจรับหรือส่งข้อมูลไปยังหลายอุปกรณ์ หรือการส่งข้อมูลแบบ One-To-All โดยอุปกรณ์ทุกตัวที่ทำการ Subscriber ไปยัง Topic ใดๆ บน Broker จะได้รับข้อมูลที่ Publisher ส่งให้ Topic นั้นๆบน Broker ทั้งหมด โดยมันถูกคิดค้นขึ้นมาในปี 1999 โดย Andy Stanford-Clark จาก IBM และ Arlen Nipper จาก Cirrus Link โดยมันถูกใช้เพื่อตรวจสอบท่อส่งน้ำมันในทะเลทรายโดยเป้าหมายคือ เป็นโปรโตคอลที่มีประสิทธภาพสูง ส่งข้อมูลขนาดไม่มาก ใช้พลังงานต่ำ เนื่องจากมันต้องเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมซึ่งมีราคาการส่งข้อมูลสูงมากในขณะนั้น

MQTT (Message Queue Telemetry Transport)

MQTT

ประกอบไปด้วย

Broker (Server)

คือตัวกลางในการรับข้อมูลจาก Publisher และส่งข้อมูลให้กับ Subscriber Clients 

(Subscriber / Publisher)

Publisher

คือตัวส่งข้อมูลให้กับ Topic ที่อยู่ใน Broker เรียกว่าการ Publish

Subscriber

คือตัวรับข้อมูลจาก Topic ที่อยู่ใน Broker เรียกว่าการ Subscribe

Topic

คือหัวเรื่องที่เราต้องการรับส่งข้อมูล ระหว่าง Publisher กับ Subscriber

MQTT คือ

การการรับส่งข้อมูลระหว่าง Server (Broker) 

และ Clients (Publisher/Subscriber)

MQTT คือการการรับส่งข้อมูลระหว่าง Server (Broker) และ Clients (Publisher/Subscriber) มีหลักการทำงาน โดยการประกาศหัวข้อการรับส่งข้อมูลเรียกว่า Topic ไว้ใน Broker จากนั้น Publisher จะส่งข้อมูลไปยัง Topic นั้นๆ และ Subscriber ก็จะได้รับข้อมูลทั้งหมดใน Topic นั้นๆ เช่นกัน

เปรียบ MQTT เป็น Facebook

เปรียบ MQTT เป็น 

Facebook

Broker = Facebook Server

Topic = โพส

Publisher = คนคอมเม้น

Subscriber = คนกด Like

ตัวอย่าง1

โพสในเฟสบุค<<<< Broker

โพสข้อว่า “วันนี้อากาศร้อน”<<<< Topic ที่ถูกสรา้งขึ้นว่า “วันนี้อากาศร้อน”

คุณ A มาคอมเม้นว่า “ร้อนมาก”<<<< Publisher ส่งข้อมูลว่า “ร้อนมาก”

คุณ B มากด Like ทำให้เห็นข้อความของคุณ A ที่คอมเม้นว่า “ร้อนมาก”<<<< Subscriber รับข้อมูล “ร้อนมาก”

สรุป

Broker = Facebook

Topic = วันนี้อากาศร้อน

Publisher = คุณ A ส่ง Data = ร้อนมาก

Subscriber = คุณ B รับ Data = ร้อนมาก


จากภาพที่ 1 เราจะเห็นถึงหลักการทำงานของ MQTT แล้ว แต่เราสามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องมี Publisher หรือ Subscriber เพียงตัวเดียว เราสามารถนำหลายตัวมาเชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลกับ Broker ได้ และ Clients สามารถเป็นทั้ง Publisher และ Subscriber ไปพร้อมๆ กันได้ตาม Diagram ด้านล่าง

เปรียบ MQTT เป็น Facebook

MQTT

Message Queue

Telemetry Transport


MQTT นั้นได้กลายเป็นหัวใจในการรับส่งข้อมูลของ IOT แทน TCP/IP, HTTP เนื่องด้วยการสื่อสารของ HTTP นั้นเป็นแบบ Request and response มีข้อจำกัดในการรับส่งข้อมูลโดยฝั่ง Client ต้องทำการ request ไปยัง server ทุกครั้งที่ต้องการข้อมูลโดยในระบบ iot บางกรณีเราต้องการรับข้อมูลตลอดเวลาแบบ Real-Time จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการรับข้อมูล และนอกจาก HTTP และ TCP/IP ยังเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ One-To-One มันเป็นการยากที่จะส่งข้อมูลทั้งหมดไปยังทุกอุปกรณ์ มันกินทรัพยากรณ์ และพลังงานอย่างมากซึ่งใน IOT นั้นเป็นเรื่องปรกติที่จะส่งข้อมูลแบบ One-To-All 


มาถึงตอนนี้เราได้ทราบถึงการทำงานของ MQTT กันแล้วจะเห็นได้ว่ามันถูกพัฒนาเพื่อ IOT อย่างไม่มีข้อสงสัย มันสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อเข้าถึงการทำงานได้ง่าย ประหยัดพลังงาน รับส่งข้อมูลได้แบบ Real-Time และหลากหลายอุปกรณ์พร้อมๆ กัน

Related Product

สนใจต้องการ

สอบถามเพิ่มเติม

ด้วยทีมงานมากประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษา ไว้วางใจให้เราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

ติดต่อสอบถาม

Related Solutions

การตั้งค่า VPN HUB ผ่าน RMS VPN ของ Teltonika Router
  การตั้งค่า VPN HUB ผ่านบริการ RMS VPN Teltonika...
RUT955 MQTT Feature เพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อความบนมาตรฐาน ISO
RUT955 MQTT Feature เพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อความ บนมาตรฐาน ISO ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม >...