การตรวจวัดคุณภาพอากาศ

AIR QUALITY MONITORING

มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์

ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด

โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และบุคคลที่มีภาวะ

ทางเดินหายใจอยู่ก่อนแล้ว และทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งโรคหัวใจ

โรคปอด และโรคมะเร็ง การตรวจสอบคุณภาพอากาศช่วยระบุระดับ

มลพิษ และความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ทำให้สามารถเตือน

และใช้มาตรการป้องกันได้ทันท่วงที เพื่อปกป้องสุขภาพ

ของประชากรในพื้นที่

การตรวจสอบคุณภาพอากาศ

Air Quality Monitoring

มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสุขภาพของประชากร

วัตถุประสงค์หลักของการตรวจวัดคุณภาพอากาศ

คือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระดับความเข้มข้นของ

สารมลพิษทางอากาศต่างๆ ที่เป็นอันตรายเพื่อประเมิน

คุณภาพของอากาศในสถานที่ หรือพื้นที่นั้นๆ ข้อมูลนี้มี

ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจความเสี่ยงด้านสุขภาพ

และแนวทางการตัดสินใจเพื่อดำเนินการ หรือกำหนด

นโยบายที่เหมาะสมเพื่อปกป้องสุขภาพของประชากร

ในพื้นที่ รวมถึงประเมินประสิทธิผลของมาตรการ

ควบคุมมลพิษที่มีอยู่แล้วอีกด้วย

วิธีการ

ตรวจสอบคุณภาพอากาศ

สามารถทำได้โดย

การตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

เป็นการใช้เซ็นเซอร์และเครื่องมือ เพื่อรวบรวม

ข้อมูลอย่างต่อเนื่องแบบเรียลไทม์ระบบนี้นำเสนอ

ข้อมูลล่าสุดของมลพิษต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง

(PM2.5, PM10), แอมโมเนีย (NH3), ไฮโดรเจนซัลไฟด์

(H2S),ฟอร์มาลดีไฮด์ (HCHO), โอโซน (O3),

คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOC)

การสุ่มตัวอย่างแบบพาสซีฟ

เก็บตัวอย่างอากาศในช่วงเวลาที่กำหนด

ซึ่งมักจะเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เพื่อตรวจสอบ

ความเข้มข้นเฉลี่ยของสารมลพิษในระยะยาว

การสุ่มตัวอย่างแบบพาสซีฟช่วยในการระบุแนวโน้ม

และประเมินประสิทธิผลของกลยุทธ์

การควบคุมมลพิษในระยะยาว

การสำรวจระยะไกล

ใช้เทคโนโลยีผ่านดาวเทียมและภาคพื้น

เพื่อการตรวจสอบพื้นที่ขนาดใหญ่

ระดับภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

โดยการใช้เซ็นเซอร์หรือเครื่องมือวัดต่าง ๆ

เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับภาคประชาชน องค์กร

และในสถานที่เฉพาะเป็นอย่างมาก

Air Quality Sensor

Indoor Series

Outdoor Series

ข้อมูลที่รวบรวมผ่านการตรวจวัดคุณภาพอากาศมักถูกแปลง

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)

เพื่อให้ประชากรทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่

เกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย

Air Quality Index : AQI

0-25

อากาศดีมาก

สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้ง

และการท่องเที่ยวได้ตามปกติ

26-50

อากาศดี

สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้ง

และการท่องเที่ยวได้ตามปกติ

51-100

ปานกลาง

ประชาชนทั่วไป: ทำกิจกรรมกลางแจ้งตามปกติ

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ: ถ้ามีอาการเบื้องต้น

เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะ

เวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง

101-200

เริ่มมีผลต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป: เฝ้าระวังสุขภาพ

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ: ใช้อุปกรณ์ป้องกัน

ลดเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง ถ้ามีอาการไอ ปวดหัว

ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ฯ ควรปรึกษาแพทย์

200 ขึ้นไป

มีผลต่อสุขภาพ

ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง พื้นที่ที่มี

มลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง

หากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควร

ปรึกษาแพทย์

ตารางค่าความเข้มข้นของ

สารมลพิษทางอากาศ

ที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ

ข้อมูลจาก กองจัดการคุรภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ

ข้อมูลคุณภาพอากาศที่แม่นยำและทันท่วงที

ช่วยให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่สามารถป้องกันตนเองได้

ผู้รับผิดชอบสามารถออกคำเตือน กำหนดวิธีการแก้ไข

และปรับปรุงคุณภาพอากาศโดยรวมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

การตรวจสอบคุณภาพอากาศเป็นเครื่องมือสำคัญ

ในการปกป้องสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

เราสามารถรวบรวมข้อมูลที่มีค่า เพื่อระบุแหล่งที่มาของมลพิษ

ประเมินประสิทธิผลของมาตรการควบคุมมลพิษและตัดสินใจ

อย่างรอบรู้เพื่ออนาคตที่ดีต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน และการรับรู้

ของสาธารณชนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงจากการตรวจวัด

คุณภาพอากาศ จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ซึ่งมีส่วนสำคัญ

ในการปรับปรุงคุณภาพอากาศโดยรวมในชุมชนของตนเอง

Related Solutions

OTD140 OUTDOOR 4G ROUTER
OUTDOOR 4G ROUTER : Teltonika OTD140 IP55 ป้องกันฝนทุกทิศทาง...
Solar Monitoring Sensor ให้ประสิทธิภาพพลังงานสูงสุด และการคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำ
Solar Monitoring SensorSensor เพื่อการตรวจสอบสภาพแวดล้อม และคุณภาพของแผงโซลาร์ เพื่อประสิทธิภาพพลังงานสูงสุด และคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำ Contact Usข้อมูลจาก...
Switch Hub -TSW114 ปฏิวัติอุปกรณ์การผลิตแบบเดิมให้ก้าวสู่ IIoT Platform
Switch Hub -TSW114ปฏิวัติอุปกรณ์การผลิตแบบเดิม ให้ก้าวสู่ IIoT Platformเอาชนะปัญหางการบูรณาการเทคโนโลยีรุ่นเก่าให้เข้ากับความก้าวหน้าใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อุปกรณ์การผลิตแบบเดิมที่มีมาตรฐานการสื่อสารที่แตกต่างกันทำงานร่วมกันกับระบบใหม่ได้...