Digital Signage คืออะไร ?
คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับธุรกิจปี 2025
Digital Signage คือระบบป้ายโฆษณาดิจิทัลที่ใช้จอแสดงผล เช่น LED, LCD, หรือโปรเจคเตอร์ เพื่อแสดงเนื้อหาโฆษณา ข้อมูล หรือมัลติมีเดียแบบไดนามิก ซึ่งสามารถควบคุมและอัปเดตเนื้อหาได้จากระยะไกลผ่านซอฟต์แวร์บริหารจัดการ
ประโยชน์ของ Digital Signage
ดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้มากกว่าป้ายโฆษณาธรรมดา
อัปเดตข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
ลดต้นทุนการพิมพ์ป้ายโฆษณา
รองรับการโฆษณาแบบอินเทอร์แอคทีฟ
Digital Signage
มีกี่ประเภท ?
1. แบ่งตามการเชื่อมต่อ
1.1 Standalone Digital Signage ใช้ SD Card หรือ USB ในการอัปโหลดเนื้อหา เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่เล็กๆ
ข้อดี
- ไม่ต้องเชื่อมต่อ LAN หรือ WiFi : ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่าย
ข้อเสีย
- การจัดการเนื้อหาจำกัด : ไม่สามารถอัปเดตเนื้อหาจากระยะไกล ต้องใช้ USB หรือการเชื่อมต่อที่จุดติดตั้ง
- ไม่เหมาะกับองค์กร หรือธุรกิจที่มี หลายหน้าจอ หรือหลายสาขา : หากคุณต้องการจัดการหลายจอในหลายที่ คุณต้องต้องเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละที่ด้วยตนเอง
1.2 Local Network Digital Signage ใช้เครือข่าย LAN หรือ WiFi ภายในองค์กรในการเชื่อมต่อ Digital Signage กับ Software ควบคุม เหมาะสำหรับองค์กรที่มีเครือข่ายภายใน
ข้อดี
- การเชื่อมต่อแบบเร็วและเสถียร : เนื่องจากระบบทำงานภายในเครือข่ายองค์กร ซึ่งไม่ต้องพึ่งพาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายนอก ทำให้การส่งข้อมูลรวดเร็วและเสถียร
- ความปลอดภัยสูง : ข้อมูลและการควบคุมระบบทั้งหมดถูกเก็บไว้ในเครือข่ายองค์กรที่ปิด ไม่เสี่ยงต่อการโจมตีจากภายนอก
- ประหยัดค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง : ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนสำหรับบริการคลาวด์ สามารถลงทุนครั้งเดียวในฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
- สามารถควบคุมได้จากศูนย์กลาง : สามารถควบคุมและอัปเดตเนื้อหาจากคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายภายในองค์กร ทำให้การจัดการเป็นระบบ
ข้อเสีย
- จำกัดการเข้าถึง : เนื่องจากระบบทำงานภายในเครือข่ายขององค์กร ทำให้ไม่สามารถควบคุมหรืออัปเดตเนื้อหาจากระยะไกล (เว้นแต่จะมีการเชื่อมต่อ VPN หรือเครือข่ายภายนอก)
1.3 Cloud-Based Digital Signage ควบคุมและจัดการเนื้อหาผ่านอินเทอร์เน็ต เหมาะกับธุรกิจที่มีหลายสาขา ต้องการอัปเดตเนื้อหาจากศูนย์กลาง
ข้อดี
- การจัดการจากระยะไกล : สามารถควบคุมและอัปเดตเนื้อหาจากที่ไหนก็ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
- รองรับหลายสาขา : เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีหลายสาขา สามารถควบคุมเนื้อหาทุกจอในทุกสาขาจากศูนย์กลาง
- ความยืดหยุ่นสูง : สามารถแสดงเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น วิดีโอ, ภาพนิ่ง, ข้อความ
- ลดต้นทุนการบำรุงรักษา : เนื่องจากไม่ต้องบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งในสถานที่
ข้อเสีย
- ต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต : หากไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ระบบจะไม่สามารถอัปเดตข้อมูลได้
- ค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง : ต้องเสียค่าบริการระบบคลาวด์รายเดือนหรือรายปี
- ซับซ้อนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก : การตั้งค่าและใช้งานอาจซับซ้อนสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีความต้องการไม่มาก
2. แบ่งตามลักษณะการแสดงผล
One-way Communication (การสื่อสารทางเดียว)
ระบบที่แสดงผลข้อมูลจากผู้ควบคุมไปยังผู้ชมโดยไม่มีการโต้ตอบจากผู้ชม เช่น การแสดงโฆษณา, ข้อมูลข่าวสาร, หรือโปรโมชั่นต่างๆ ที่ไม่ต้องการให้ผู้ชมมีการตอบสนองInteractive (การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม)
ระบบที่ให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่แสดงบนจอ เช่น การเลือกเมนู, การค้นหาข้อมูล, หรือการแสดงผลที่ตอบสนองต่อการสัมผัสของผู้ใช้ ซึ่งช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานและทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับเนื้อหามากขึ้น
Interactive Digital Signage
ข้อดี
- เพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ : สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ เช่น ผ่านการสัมผัสหรือการเลือกเมนู
- เหมาะกับสถานที่ที่ต้องการข้อมูลแบบอินเทอร์แอคทีฟ : เช่น พิพิธภัณฑ์, ห้างสรรพสินค้า, โรงเรียน
- สามารถเก็บข้อมูลการใช้งาน : การโต้ตอบสามารถใช้ในการเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อการตลาด
ข้อเสีย
- ต้นทุนสูง : อุปกรณ์ที่ต้องใช้ เช่น จอสัมผัส (Touchscreen) และเทคโนโลยีที่รองรับการโต้ตอบ
- ซับซ้อนในการติดตั้งและบำรุงรักษา : การติดตั้งอุปกรณ์และการดูแลรักษาระบบอาจต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็น Interactive Digital Signage หรือ One-way Communication Digital Signage ต่างสามารถใช้งานได้ในการเชื่อมต่อทั้งในแบบ Standalone, Cloud-Based, หรือ Local Network ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าและอุปกรณ์ที่รองรับ
ประโยชน์ของ Digital Signage
สำหรับธุรกิจ
Digital Signage เป็นโซลูชันที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลากหลายธุรกิจ เนื่องจากสามารถดึงดูดความสนใจและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือเหตุผลว่าทำไมธุรกิจของคุณควรใช้ Digital Signage
ดึงดูดความสนใจและเพิ่มการรับรู้แบรนด์
- จอดิจิทัลสามารถแสดงเนื้อหาที่สดใหม่และเคลื่อนไหวได้ ซึ่ง ดึงดูดสายตา ได้ดีกว่าป้ายโฆษณาแบบดั้งเดิม ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของคุณได้มากขึ้น

ตัวอย่าง : ร้านค้าปลีกใช้จอดิจิทัลเพื่อแสดงโปรโมชั่นหรือสินค้าใหม่แบบไดนามิก
เพิ่มยอดขายและกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ
- การใช้ Digital Signage เพื่อโฆษณาสินค้าหรือโปรโมชันพิเศษ ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง : ร้านอาหารใช้ Digital Menu Board เพื่อโปรโมตเมนูพิเศษ หรือแสดงภาพอาหารที่น่ารับประทานเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าสั่งซื้อ
ปรับเปลี่ยนเนื้อหาได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว
- แทนที่จะต้องพิมพ์ป้ายโฆษณาใหม่ทุกครั้งที่มีโปรโมชัน Digital Signage ช่วยให้คุณอัปเดตเนื้อหาได้แบบเรียลไทม์ ผ่านซอฟต์แวร์ควบคุม

ตัวอย่าง : ห้างสรรพสินค้าใช้ป้ายดิจิทัลเพื่อแสดงโปรโมชันที่เปลี่ยนแปลงทุกวันโดยไม่ต้องเสียค่าพิมพ์ป้ายใหม่
ปรับแต่งการแสดงผลให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
- Digital Signage สามารถตั้งค่าการแสดงผลให้แตกต่างกันตามช่วงเวลา หรือแม้แต่ แสดงโฆษณาตามพฤติกรรมของลูกค้า ได้

ตัวอย่าง : ร้านค้าสามารถตั้งค่าให้แสดงโฆษณาสินค้าเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เดินผ่านหน้าร้าน
เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร
- ไม่ใช่แค่ภายนอกธุรกิจเท่านั้น Digital Signage ยังช่วยให้พนักงานรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่าง : โรงงานอุตสาหกรรมใช้จอดิจิทัลเพื่อแจ้งเตือนความปลอดภัย หรือแสดงผลผลิตในแต่ละวัน
รองรับการโต้ตอบ (Interactive) เพื่อเพิ่มประสบการณ์ลูกค้า
- หากใช้ Interactive Digital Signage ลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมกับเนื้อหาบนจอ เช่น เลือกข้อมูล หรือค้นหาสินค้าได้เอง

ตัวอย่าง : ห้างสรรพสินค้าใช้ Kiosk ดิจิทัลให้ลูกค้าค้นหาแผนที่ร้านค้าได้เอง
วิธีเลือกซื้อ
Digital Signage
ที่เหมาะกับองค์กร
- เลือกประเภทจอแสดงผล (LCD, LED, OLED)
- พิจารณาขนาดจอ ตามพื้นที่ติดตั้ง
- ตรวจสอบความสว่างและความคมชัด เพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม
- เลือกระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่าย รองรับการบริหารจัดการระยะไกล
- ประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงค่าติดตั้งและค่าบำรุงรักษา


ติดตั้ง
Digital Signage
ต้องใช้อะไรบ้าง?
- Hardware
- จอแสดงผล
- เครื่องเล่นสื่อ อาจเป็น Media Player, PC หรือ Android Box
- Software : ระบบบริหารจัดการเนื้อหา (CMS)
- Network : อินเทอร์เน็ตสำหรับอัปเดตเนื้อหา (ถ้าเป็น Standalone Digital Signage ไม่ต้องใช้ Network)
- อุปกรณ์เสริม : ตัวยึดจอ, สายไฟ, ระบบเสียง
ซอฟต์แวร์
Digital Signage
ที่ดีที่สุดในปี 2025
ซอฟต์แวร์ยอดนิยม
- OnSign TV - Cloud-Based Software รองรับอุปกรณ์ Player หลากหลายแบร์ด
- BrightSign – ระบบเสถียร เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่
- NoviSign – ใช้งานง่าย รองรับ Cloud-Based
- Xibo – Open-source เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
- TelemetryTV – องค์กรขนาดใหญ่ รองรับการจัดการหลายผู้ใช้


ตัวอย่างการใช้งานจริง
Digital Signage
ในธุรกิจ
- ร้านค้าปลีก : แสดงโปรโมชั่นและโฆษณาสินค้า
- โรงแรม : ใช้แสดงข้อมูลห้องพักและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
- โรงพยาบาล : แสดงลำดับคิวและข้อมูลสุขภาพ
- โรงงานอุตสาหกรรม : ใช้เป็นป้ายแสดงข้อมูลการผลิตแบบเรียลไทม์
ไขข้อข้องใจความแตกต่างระหว่าง
Digital Signage With Video Wall
หลายคนอาจสับสนระหว่าง Digital Signage และ Video Wall ว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือต่างกันอย่างไร มาไขข้อข้องใจกันครับ
หัวข้อ
Digital Signage
Video Wall
นิยาม
การใช้จอเป็นป้ายโฆษณาหรือให้ข้อมูล
การนำจอหลายจอมาต่อกันให้เป็นจอขนาดใหญ่
รูปแบบการแสดงผล
อาจใช้จอเดี่ยว หรือหลายจอร่วมกัน
ต้องใช้จอหลายจอมาต่อกัน
เป้าหมายการใช้งาน
เพื่อประชาสัมพันธ์หรือโฆษณา
เพื่อให้ได้จอแสดงผลขนาดใหญ่
การนำไปใช้ร่วมกัน
Digital Signage สามารถใช้ได้ทั้งจอเดี่ยวและ Video Wall
Video Wall สามารถใช้เป็น Digital Signage ได้
สนใจต้องการ
สอบถามเพิ่มเติม
ด้วยทีมงานมากประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษา ไว้วางใจให้เราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
