PLC
Programmable Logic Control
เครื่องควบคุมอัตโนมัติเกรดอุตสาหกรรม
ตอบโจทย์ความต้องการ
PLC
Programmable
logic Control
PLC เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบคุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
Deployment
Programmable
logic Control
เราสามารถสร้างวงจรหรือแบบของการควบคุมได้โดยการป้อนเป็นโปรแกรมคำสั่งเข้าไปใน PLC นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer)
ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเครื่องพีแอลซีจะใช้งานแบบเดี่ยว (Stand alone) แล้วยังสามารถต่อพีแอลซีหลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน (Network) เพื่อควบคุมการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยจะเห็นได้ว่าการใช้งานพีแอลซีมีความยืดหยุ่นมาก ดังนั้น ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงเปลี่ยนมาใช้พีแอลซีมากขึ้น
โครงสร้าง PLC
หน่วยประมวลผล CPU
( Central Processing Unit )
- เป็นหัวใจหลักของ PLC จะมีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของพีแอลซีทั้งหมดมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
ไมโครโปรเซสเซอร์ (Micro Processor)
หน่วยความจำ (Memory Unit)
- ใช้เก็บข้อมูลของโปรแกรม แบ่งออกเป็น
- RAM (Random Access Memory) โดยทั่วไปแล้ว แรมสามารถเขียนโปรแกรมและลบได้ตลอดเวลา ทำให้สะดวกในการใช้ และแรมยังมีแหล่งจ่ายไฟสำรอง (BackupBatteries) เพื่อเก็บรักษาข้อมูลเมื่อไฟฟ้าดับ
- ROM (Read Only Memory) รอมจะมีข้อจำกัดที่ต่างจากแรมก็คือ เมื่อเขียนโปรแกรมเข้าไปแล้วไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ดังนั้นในการเขียนโปรแกรมจึงต้องแน่ใจว่า จะไม่มีการแก้ไขอีกแล้ว
แหล่งจ่ายไฟ (Power.Supply)
- โดย PLC จะรับสัญญาณกระแสไฟฟ้าสลับ AC (Alternation Current) ที่มีแรงดันไฟฟ้า 110 VAC หรือ 220 VAC หรือจากไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current) 24 VDC โดยเปลี่ยนให้เป็นแรงดัน 5 VDC หรือใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ระบบ พีแอลซีซึ่งรวมไปถึงไมโครโปรเซสเซอร์อินพุต เอาต์พุต และอุปกรณ์อื่นๆ
หน่วยอินพุต / เอาต์พุต (Input / Output Unit)
หน่วยอินพุต (Input Unit)
- จะทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ที่ติดต่อภายนอก เช่น สวิตช์ปุ่มกด (Pushbutton) ลิมิตสวิตช์ (Limit Switch) รีดสวิตช์ (Reed Swich) เซ็นเซอร์ (Sensor) และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกแปลงสัญญาณแล้วส่งไปที่ซีพียู เพื่อทำการประมวลผลจากสัญญาณที่ส่งเข้ามาก่อนที่จะส่งสัญญาณไปที่เอาต์พุตต่อไป
หน่วยเอาต์พุต (Output Unit)
- จะทำหน้าที่เมื่อรับสัญญาณที่ได้ จากการประมวลผลของซีพียู แล้วจะทำการส่งสัญญาณออกไปเพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ของ เครื่องจักร เช่น โซลีนอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) มอเตอร์ (Motor) แสงสว่าง (Light) และอื่นๆ เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งของโปรแกรมที่เขียนไว้
หน่วยอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม PM
( Programmer / Monitor )
- จะเป็นลักษณะอุปกรณ์ต่อร่วม เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ (Personal Computer) คีย์บอร์ด (Keyboard) จอแสดงภาพ (Cathode.ray.tubes) และโปรแกรมมิ่งคอนโซล (Programming Console) จะแสดงผลทางหน้าจอเป็นแอลซีดี (LCD ; Liquid Crystal Display) หรือการควบคุมผ่านจอสัมผัส (Touch screen) โดยจะป้อนโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ลงไปที่หน่วยความจำของ PLC เพื่อใช้สั่งงานหรือควบคุมอินพุต / เอาต์พุตต่อไป
ประโยชน์ของ PLC
ส่วนประกอบเป็น Solid State
สามารถโปรแกรมใหม่ให้หน่วยความจำได้
มีขนาดเล็ก
มีไมโครโปรเซสเซอร์เป็นพื้นฐานการควบคุม
มีซอฟต์แวร์ที่เป็นตัวจับเวลา (Timer) และตัวนับ (Counter)
มีซอฟต์แวร์ที่เป็นรีเลย์
มีโครงสร้างเป็นโมดูล
มีความหลากหลายของตัวเชื่อมต่อ อินพุตและเอ้าท์พุต
มี Remote I/O Station
ตัวเชื่อมต่ออินพุตและเอ้าท์พุตเป็นแบบโมดูล
อินพุตและเอ้าท์พุตเป็นแบบตัดเร็ว
ตัวแปรต่างๆ ของระบบถูกเก็บในหน่วยความจำข้อมูล
มีความน่าเชื่อถือสูง
ง่ายในการเปลี่ยนแปลงการควบคุมมีความยืดหยุ่น
ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งน้อย
มีความสามารถในการสื่อสารมีระดับประสิทธิภาพสูง เพื่มคุณภาพในการผลิต มีฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์มากมาย
ลดการใช้ฮาร์ดแวร์ ง่ายในการปรับแต่ง เช่น ค่าเวลา ค่าการนับ
ลดการใช้ฮาร์ดแวร์ ลดต้นทุนการเดินสายไฟฟ้า
ยืดหยุ่นในการติดตั้ง ง่ายต่อการติดตั้ง ลดต้นทุนทางด้านฮาร์ดแวร์ สามารถขยายเพิ่มได้
ควบคุมอุปกรณ์ได้หลากหลาย ลดขีดจำกัดของการควบคุม
ขจัดการเดินสายไฟฟ้า ท่อเดินสายไฟฟ้าที่ยาว
ทำให้แผงควบคุมดูเรียบร้อย ง่ายในการเดินสายไฟฟ้า ง่ายในการดูแลรักษา
เมื่อทำการเปลี่ยนไม่ต้องยุ่งกับการเดินสายไฟฟ้าภายในระบบ
ง่ายในการจัดการ การบำรุงรักษา สามารถส่งข้อมูลออกมาในรูปแบบการรายงานผลได้
Product Overview
By Rockwell Automation
Allen Bradley ผลิตพีแอลซีออกมาอยู่หลายรุ่นด้วยกัน รุ่นที่ยังมีใช้ในปัจุบัน มีอยู่ 3 รุ่นหลักๆ ได้แก่ รุ่นเล็ก(Small size) เช่น MicroLogix รุ่นกลาง (Medium size) เช่น SLC500, CompactLogix และรุ่นใหญ่ (Large size) เช่น ControlLogix เป็นต้น และได้รับรองความปลอดภัย (safety-certified) สนับสนุน SIL 2 และ SIL 3
By Mitsubishi Electric
PLC ที่ให้การควบคุมก้าวหน้าไปอีกขั้น สามารถตอบสนองความต้องการของระบบควบคุมได้ครบตามที่คาดหวังให้โซลูชั่นที่เหมาะสมจากกลุ่มผลิตภัณฑ์พีแอลซี และระบบเครือข่ายที่ครอบคลุม
By Siemens
ตัวควบคุมโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัท Siemens ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่สัญชาติของยุโรป อุปกรณ์ในกลุ่มระบบอัตโนมัติของ Siemens จะใช้ชื่อว่า Simatic (ย่อมาจาก Siemens+Automatic) ซีรี่ย์ปัจจุบันของกลุ่มพีแอลซี คือ S7 และก่อนหน้านั้นคือ S5 รุ่นใหม่สองรุ่นคือ S7-1200 และ S7-1500 และออกแพลทฟอร์มของโปรแกรมตัวใหม่ ที่สามารถใช้กับพีแอลซี , HMI, SCADA, Drive, Servo
สนใจต้องการ
สอบถามเพิ่มเติม
ด้วยทีมงานมากประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษา ไว้วางใจให้เราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ